หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คณะ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร 25401401101085
1.1 ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ
1.2 ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Aquaculture and Aquaculture Business
2.1 ชื่อเต็มภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต (การเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ)
2.2 ชื่อย่อภาษาไทย วท.บ. (การเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ)
2.3 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Aquaculture and Aquaculture Business)
2.4 ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B. Sc. (Aquaculture and Aquaculture Business)
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4
ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา : นักศึกษาไทยและ/หรือนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น (ถ้ามี) : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ เพียงสาขาเดียว
þ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาประมง(หลักสูตรปรับ พ.ศ. 2563)
- เปิดดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
- สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม
ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 26 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565
- สภามหาวิทยาลัย เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม
ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565 ในปีการศึกษา 2570
1. ผู้ประกอบการธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. เจ้าของฟาร์มสัตว์น้ำ
3. ผู้ประกอบการอาหาร ยาและเวชภัณฑ์สัตว์น้ำ
4. พนักงานประจำฟาร์ม
5. พนักงานวิจัยประจำฟาร์มสัตว์น้ำ
6. พนักงานส่งเสริมการขาย
7. ผู้จัดการฟาร์ม
8. นักวิชาการประมง
9. อาจารย์
10. นักวิจัย
ลำดับที่
ตำแหน่ง
วิชาการ
ชื่อ-นามสกุล
คุณวุฒิ
สถาบัน
ปีที่จบการศึกษา
หมายเหตุ
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นางสาวิภา รัตนกร
ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
วท.ม. (การประมง)
วท.บ. (ประมง)
ม. บูรพา
ม. ขอนแก่น
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขตกาฬสินธุ์
2556
2548
2545
กรรมการประจำหลักสูตร
2
นางอุไร กุลบุญ
ปร.ด. (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
วท.ม.(วิทยาศาสตร์การประมง)
วท.บ.(ประมง)
ม. เกษตรศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตนครศรีธรรมราช
2558
2542
2535
3
อาจารย์
นายจักรินทร์ ตรีอินทอง
ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์
ประมง)
วท.ม. (ผลิตภัณฑ์ประมง)
2559
2554
2551
ประธานหลักสูตร
4
นายวุฒิ รัตนวิชัย
Ph.D.( Aquaculture)
University of Science and Technology, Taiwan
วิทยาเขตสุรินทร์
2543
กรรมการและเลขานุการประจำหลักสูตร
5
นางศิวาพร สีดาบุตร
วท.ม.(การประมง)
วท.บ.(วาริชศาสตร์)
ม. สงขลานครินทร์
2549
2529
หมายเหตุ : อักษรย่อ ม. หมายถึง มหาวิทยาลัย
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิชาชีพการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
รอบรู้วิชาการ ทักษะงานโดดเด่น มุ่งเน้นคุณธรรม ก้าวทันยุคดิจิทัล
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1) นำความรู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยีไปปฏิบัติงานด้านวิชาชีพการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนทั้งในภาครัฐและเอกชน
2) ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ด้วยหลักวิชาการที่ได้มีการวางแผนและมีระบบด้วยความรอบคอบประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
3) มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคม
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
PLO1 ตระหนักรู้ถึงอัตลักษณ์ ความเชี่ยวชาญ จิตวิญญาณ และความเป็นมาของมหาวิทยาลัย
PLO2 สามารถปฏิบัติตนอย่างมีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ อดทน มีจิตอาสา มีความสนใจ และกระตือรือร้น
PLO3 มีทักษะการสื่อสาร การวางตัว อ่อนน้อมถ่อมตน การมีมนุษยสัมพันธ์ การปรับบุคลิกภาพ มีจิตวิทยา การรู้เท่าทันสถานการณ์และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
PLO4 มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี การทำงานเป็นทีม
PLO5 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO6 สามารถใช้ภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาจีนสื่อสารได้อย่างเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ
PLO7 สามารถเลือกเทคนิคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
PLO8 สามารถนำความรู้และทักษะทางวิชาชีพ เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาหารและการให้อาหารสัตว์น้ำ การตรวจสอบและวิเคราะห์โรคสัตว์น้ำ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
PLO9 มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสัตว์น้ำ เช่น สามารถจัดทำแผนธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำแผนการตลาด การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านสัตว์น้ำได้
PLO10 สามารถผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าได้และมีความปลอดภัย
PLO11 มีทักษะการคำนวณทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
PLO12 มีทักษะความรู้และสามารถนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO13 มีทักษะในการขับขี่รถยนต์และทักษะช่างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
2.2 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (Year Learning Outcomes : YLOs)
ปีที่
รายละเอียด
-สามารถอธิบายทฤษฎีวิทยาศาสตร์พื้นฐานและใช้เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
-สามารถเข้าใจหลักพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำได้
-สามารถเข้าใจถึงการคิดด้วยมุมมองที่ต่างกันและรับฟังความเห็นต่างในประเด็นเดียวกันได้
-ปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
-สามารถอธิบายความรู้พื้นฐานทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
-ปฏิบัติงานทางด้านทักษะพื้นฐานทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
-สามารถปฏิบัติงานทดลองและใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
-สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
-สามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยคำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
-สามารถสรุปเนื้อหาใจความสำคัญ และเลือกรูปแบบนำเสนอที่เหมาะสมต่อผู้ฟัง
-สามารถเขียนแผนธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนำเสนอได้
-ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
-สามารถสรุปเนื้อหาใจความสำคัญ เลือกรูปแบบนำเสนอที่เหมาะสมต่อผู้ฟัง และแสดงออกถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมระหว่างการนำเสนอ
1.1 ระบบ
ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
มีภาคฤดูร้อน
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาต้น เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม
ภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
2.2.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าหรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา
2.2.2 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาหรือเทียบเท่า เข้าศึกษาโดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
2.2.3 คุณสมบัติอื่น ๆ ตามประกาศ หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ว่าด้วยการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และ/หรือ ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
2.3.1 นักศึกษาบางส่วนมีข้อจำกัดทางด้านการปรับตัวในการเรียนในระดับอุดมศึกษา
2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษา ในข้อ 2.3
2.4.1 จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในมหาวิทยาลัย และการแบ่งเวลา
2.4.2 แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้ช่วยเหลือดูแลนักศึกษา ติดตามผลการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากอาจารย์ผู้สอน และจัดกิจกรรมสอนเสริมถ้าจำเป็น
2.7 ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียน
2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา
หลักเกณฑ์การเทียบโอนให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและธุรกิจสัตว์น้ำ. แผนการเรียน 4 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
3.1 โครงสร้างหลักสูตร 4 ปี
3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร
1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า
24
หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาบังคับ
18
1.2 กลุ่มวิชาเลือก
6
2 หมวดวิชาชีพเฉพาะ ไม่น้อยกว่า
91
2.1 กลุ่มวิชาแกน
32
2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
48
2.3 กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา
7
2.4 กลุ่มรายวิชาวิทยานิพนธ์/โครงการ
2.5 กลุ่มวิชาสัมมนา
3 หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า
รวม
121